ข่าวสาร

790x442.jpg

ประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง เจาะลึกกฎหมาย ร่าง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์

วันที่เผยแพร่ 07 มี.ค. 2561


    

    

คณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอกาาค้าแห่งประเทศไทย จัดการประชุมระดมความคิดเห็น เรื่อง เจาะลึกกฎหมาย ร่าง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เมื่อวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2561 ระหว่างเวลา 13.00 น. – 16.00 น. ณ Activity Hall อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อต้องการความคิดเห็นของประชาชน ความคิดเห็นของ นายจ้าง ลูกจ้าง หน่วยงานทุกภาคส่วน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อนำไปปรับปรุงร่าง พ.ร.บ. เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่แรงงานไทย โดยมีแนวทางว่า เห็นด้วย เพราะอะไร ไม่เห็นด้วยเพราะอะไร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการออกกฎหมาย

การประชุมครั้งนี้มีการพูดคุยในหลายประเด็น เช่น การให้ต่างด้าวมาจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร โดยวิทยากรแต่ละท่านให้ความคิดเห็นดังนี้

  • ในต่างประเทศที่เจริญแล้ว หรือประเทศอื่น ๆ ก็ไม่มีสหภาพแรงงานต่างด้าว ในกรณีที่มีปัญหาต่าง ๆ ก็มีสิทธิที่ประเทศไทยช่วยเอื้อให้อยู่แล้ว จะมีให้ตั้งสหภาพแรงงานก็เกินไป และส่วนมากปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจนมากที่สุด คือ แรงงานจากประเทศพม่า ดังนั้น ค่อนข้างหวาดเสียว ถ้าหากจะลงทุนในลักษณะนี้ จะมีปัญหาขึ้นมากมาย ชัดเจนที่สุด คือเรื่องความมั่นคงของประเทศ แต่ทั้งนี้ ทางอุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลสวนทางกับความเป็นจริงในเรื่องแรงงานไม่พอ ทั้งที่แรงงานในไทยเพียงพอ สาเหตุงานอุตสาหกรรมคนไทยไม่ทำแต่แรงงานต่างด้าวทำ ดังนั้น ไม่ควรให้มีการตั้ง สหภาพแรงงานต่างด้าว 
  • ในอตีด แรงงานต่างด้าว จะเอาเข้ามาแค่ งานประมง และงานกรีดยาง แต่เมื่อเวลาผ่านไปการนำนักลงทุนเข้ามา และมีความต้องการจ้างแรงงานมีมากขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายมาเรื่อยมา และปัญหาที่จะตามมาเมื่อมีการจัดตั้ง สหภาพแรงงานต่างด้าว คือ การเจรจาต่อรอง เนื่องจาก การรวมตัวของแรงงานต่างด้าวน่ากลัวมาก และ   นักลงทุนในประเทศไทยส่วนมากก็ต่างชาติทั้งนั้น เราจะให้นายจ้างและลูกจ้าง ต่างด้าวมาประลองยุทธในประเทศไทยหรืออย่างไร ดังนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างมาก ดังนั้นทุกท่านต้องช่วยกันแสดงความคิดเห็น 
  • ตอนร่าง พ.ร.บ. เดิมให้แรงงานต่างด้าวเป็นสมาชิกได้อย่างเดียว และให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน 1 ใน 5 ของกรรมการ เพื่อให้มีเสียงในการปกป้องตัวเองเล็กน้อย โดยมีคนไทยเป็น 4 ใน 5 ของคณะกรรมการนั้น และแรงงานต่างด้าวไม่มีสิทธิตั้งสหภาพแรงงาน หากไม่มีแรงงานไทย ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ตอนนี้ กลายเป็นแรงงานต่างด้าวสามารถตั้งสหภาพแรงงานได้ ถึงแม้ไม่มีแรงงานไทย จะเรียกได้ว่า มีการหมกเม็ดการ ร่าง พ.ร.บ ก็ว่าได้ ซึ่งผมไม่พอใจอย่างยิ่ง และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ผมไม่ได้รังเกียจแรงงานต่างด้าว แต่ผมไม่เห็นด้วยในการให้แรงงานต่างด้าวตั้งสหภาพแรงงาน เพราะถ้าหากอนุญาตขึ้นมา กี่โรงงาน กี่จังหวัด จะมีสหภาพแรงงานแรงด้าว เต็มไปหมด ทั้งนี้ มาตรา 87 , 98 ก็สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ไม่มีการอนุญาติให้มีสหภาพแรงงานแรงด้าว 
  • เรื่องสถานะแรงงาน ตามมาตรา 92 กำหนดให้เป็น นิติบุคคล และมีวัตุประสงค์ ให้แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์ของสภาพการจ้าง ซึ่งการที่แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานตามสัญญา โดยระบุเวลาไว้แล้วจะมาก่อตั้งสหภาพแรงงานอีกทำไม ซึ่งผมไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ และถ้าหากมีส่วนร่วมเรื่องสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว กฎหมายก็เปิดช่องให้แรงงานต่างด้าวให้ส่งตัวแทนมาดูแลเรื่องสวัสดิการอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ควร ให้มีสหภาพแรงงานแรงด้าวอีก
  • มูลเหตุจูงใจ ตามหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย ของต่างประเทศ หากมีการแลกเปลี่ยนกัน เช่น ประเทศ A และ B ตกลงให้มีการตั้ง สหภาพแรงงานแรงด้าว ของกันและกันก็เป็นรูปแบบ การที่จะให้ผลประโยชน์แก่กัน ดังนั้น การเอาอนุสัญญา 87 , 98 มาใช้ก็มีหลักอื่นมาใช้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องร่างกฎหมายให้มีการตั้งสหภาพแรงงานแรงด้าว
  • ปัจจุบัน กฎหมายก็ให้แรงงานแรงด้าว สามารถเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน 1 ใน 5 ของกรรมการ อยู่แล้ว แต่ปัญหาในเรื่อง อนุสัญญา 87 ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ว่าประเทศไทย เรามีความพร้อมไหม อย่างไรก็ตาม อนุสัญญา 87 มีประเทศที่ รับและให้สัตยาบรรณ แล้วจำนวน 154 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ใน ยุโรป ประเทศที่อยู่ในแอฟริกา ประเทศที่อยู่ในอเมริกาใต้ ประเทศอื่น ๆ และในอาเซียน มีเพียง 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย เมียนมาร์ และฟิลิปปินส์ ถ้ามองดี ๆ เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานทั้งนั้น และประเทศที่ไม่รับอนุสัญญา มี 33 ประเทศ เช่น บราซิล รัสเซีย จีน อินเดีย เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย อเมริกา เป็นต้น ซึ่งก็น่าสังเกต ว่าประเทศที่นำเข้าแรงงานเยอะ ก็ไม่ได้เปิดโอกาสให้แรงงานต่างด้าวตั้ง สหภาพแรงงานต่างด้าว เค้าก็มีศักยภาพที่ดีในเรื่องเศรษฐกิจ และสิ่งที่น่ากังวลของเรา คือ นโยบายของไทย ให้นำเข้ามาใช้งานชั่วคราว ถ้าเข้ามาในรูปแบบ MOU 2 ปี และต่อได้อีก 2 ปี ยกตัวอย่างหากมีการตั้งตั้ง สหภาพแรงงานต่างด้าว หากนายจ้างต่อให้ ตามสัญญาหรือไม่ต่อให้ก็เป็นปัญหาได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นสิทธิของนายจ้าง แต่ในมุมมองของลูกจ้างต่างด้าว ก็คงไม่ยอม ก็จะไปร้องศาลแรงงาน ดังนั้น ไม่ควรตั้งสหภาพแรงงานต่างด้าว และอีกปัญหาเรื่องการเข้าเรียน การรักษาพยาบาล ของลูก หลาน แรงงานต่างด้าว ก็มองว่า เป็นปัญหาแทรกซ้อนเข้ามา เพราะแน่นอนว่าแรงงานต่างด้าว ไม่ประสงค์ที่กลับประเทศตน ดังนั้นเรื่อง สาธารณูปโภค และโยงไปถึงปัญหาความมั่นคงของประเทศไทย ก็ประทุขึ้นมาแน่นอน
  • ในประเด็นการแปรงสารที่มี ร่าง พ.ร.บ.  คณะทำงานไม่ได้รับเชิญในการประชาวิจาณ์ จึงเป็นปัญหา ของการทำงานของกระทรวงแรงงานและการคุ้มครองสวัสดิการ ของไทย จึงอยากให้ นายจ้างลงความเห็นกัน เพราะ แรงงานต่างด้าวมีสิทธิที่ได้เป็นสมาชิก ตามกฎหมายอยู่แล้ว และการที่ให้แรงงานต่างด้าวเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน 1 ใน 5 ของกรรมการ แม้นายจ้างจะลำบากใจอยู่แล้วแต่ต้องยอมให้ ประเทศไทย หลุดจากเทีย 3 มาเป็นเทีย 2 เทีย 1 แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ลูกจ้างต่างด้าว ตั้งสหภาพแรงงาน


 ภาพประกอบ