ร่วมประชุมสุดยอดธุรกิจ “Maekyung Thailand Forum” ครั้งแรก ณ กรุงเทพมหานคร
วันที่เผยแพร่ 18 พ.ค. 2561
คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคุณไพรัช บูรพชัยศรี รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมสุดยอดธุรกิจ “Maekyung Thailand Forum” ซึ่งจัดขึ้นโดยเมคยอง มีเดีย กรุ๊ป ร่วมมือกับ กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงการค้า, อุตสาหกรรมและพลังงาน, องค์กรการค้าระหว่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (Korea International Trade Association – KITA), สำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Trade-Investment Promotion Agency – KOTRA), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (Thailand Board of Investment – BOI) และ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสำคัญ อันเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ ในการพัฒนาความร่วมมือและต่อยอดทางธุรกิจระหว่างหุ้นส่วนและพันธมิตรของทั้งสองประเทศ ซึ่งหัวข้อการประชุมในครั้งนี้ประกอบไปด้วย ‘การเชื่อมต่อทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยและความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเกาหลีในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4’ (ASEAN Connectivity and Thailand 4.0 and Korea-Thai Cooperation of 4th Industrial Revolution) โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับยุคไทยแลนด์ 4.0 และนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย สำหรับหัวข้อการประชุมในช่วงที่สอง ตัวแทนจากทางบริษัท ซัมซุง อิเล็คทรอนิกส์ (Samsung Electronics Co., Ltd.), บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (Hyundai Motor Co., Ltd.) จะบรรยายในหัวข้อนวัตกรรมของอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีเข้ากับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะอภิปรายในหัวข้อ การเพิ่มโอกาสในการลงทุนภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในประเทศไทย และการกระตุ้นการลงทุนของบริษัทประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ในประเทศไทย รวมถึงการกล่าวถึงวาระครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศและสาธารณรัฐเกาหลี, จาง แท ฮวาน ประธาน เมคยอง มีเดีย กรุ๊ป จะนำเสนอถึงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศไทยและกลยุทย์ด้านอุตสาหกรรมในอนาคต, แบค อุน คยอง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จะกล่าวถึงการเติบโตด้านนวัตกรรมของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงการปฏิรูปเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงการปรึกษาพูดคุยทางด้านธุรกิจแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-on-One) ภายในงานอีกด้วย
ภายในงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงานจากสาธารณรัฐเกาหลี ได้ให้เกียรติเข้าร่วมงาน พร้อมผู้บริหารจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่กว่า 150 คน จาก 30 บริษัท ธุรกิจชั้นนำที่เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ ภายในงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงานจากสาธารณรัฐเกาหลีได้ให้เกียรติเข้าร่วมงาน พร้อมผู้บริหารจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่กว่า 150 คน จาก 30 บริษัทธุรกิจชั้นนำที่เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้ เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ระดับโลกบริษัทธุรกิจชั้นนำขนาดใหญ่จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลีที่เข้าร่วมงาน ประกอบไปด้วย บริษัท ซัมซุง อิเล็คทรอนิกส์ (Samsung Electronics Co., Ltd.), บริษัท ฮุนได มอเตอร์ (Hyundai Motor Co., Ltd.), บริษัท แอลจี อิเล็คทรอนิกส์ (LG Electronics Co., Ltd.), บริษัท โพสโค จำกัด ผู้ผลิตเหล็กและสแตนเลสชั้นนำ (POSCO CO., Ltd.), บริษัท แอลเอส เคเบิล แอนด์ ซิสเท็ม จำกัด (LS Cable & System Co., Ltd.), บริษัท ฮโยซอง จำกัด (Hyosung Corporation), บริษัท แพน โอเชี่ยน จำกัด (Pan Ocean Co., Ltd.), บริษัท ลอตเต้ ช็อปปิ้ง (Lotte Shopping Co., Ltd.), จีเอส โฮม ช็อปปิ้ง (GS Home Shopping Inc.), บริษัท ซีเจ เจอิลเจดัง (CJ Cheiljedang Corp.), บริษัท กุมโฮ เอเชียน่า กรุ๊ป (Kumho Asiana Group), บริษัท ฮันฮวา เคมิคอล (Hanhwa Chemical Co., Ltd.), บริษัท นงฮย็อบ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (NongHyup Financial Group Inc.),บริษัท เคบี ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (KB Financial Group), บริษัท ชินฮัน ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (Shinhan Financial Group), บริษัท เคอีบี ฮานา ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (KEB Hana Financial Group), ธนาคารอูรี (Woori Bank),บริษัท เคที คอร์ปอเรชั่น (KT Corporation), บริษัท ฮิวแมกซ์ โฮลดื้งส์ จำกัด (Humax Holdings Co., Ltd.),บริษัท บลูโฮลล์ สตูดิโอ (Bluehole Studio Inc.), บริษัท เอสเค เทเลคอม จำกัด (SK Telecom Co., Ltd.) และบริษัทชั้นนำอีกมากมาย รวมถึงสถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Advanced Institute of Science & Technology – KAIST) โดยมีเป้าหมายเพื่อการต่อยอดทางธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ระดับโลก และพัฒนาทางด้านความร่วมมือทางธุรกิจกับประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0