ข่าวสาร

790x442.jpg

หอการค้าไทย....ร่วมผนึกกำลัง 4 องค์กร หอการค้าจังหวัด และผู้ค้าประเทศจีน กัมพูชา ขับเคลื่อน HUB ตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลก

วันที่เผยแพร่ 08 ก.พ. 2561


หอการค้าไทย....ร่วมผนึกกำลัง 4 องค์กร หอการค้าจังหวัดและผู้ค้าประเทศจีน กัมพูชา
ขับเคลื่อน HUB ตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลก
 
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 หอการค้าไทย กระทรวงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลักดันยุทธศาสตร์ประเทศไทยให้เป็นมหาอำนาจด้านผลไม้เมืองร้อนของโลก โดยการลงนามความร่วมมือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือตลอด ห่วงโซ่อุปทำน (Value Chain) การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต การสร้างความเข้มแข็ง ของสถาบันเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เพื่อให้การเป็นศูนย์กลางตลาดผลไม้เมืองร้อนของโลก พร้อมกันนี้ เพื่อแสดงออกถึงเครือข่ายความร่วมมือในการเชื่อมโยงแหล่งผลิตและตลาดในการซื้อขายผลไม้ของประเทศไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทางกระทรวงพาณิชย์ และหอการค้าไทย ได้ประสานกับหอการค้าจังหวัดแหล่งผลิตและหอการค้าจังหวัดที่เป็นตลาดรองรับจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ “เชื่อมโยงตลาดผลไม้ ด้านแหล่งผลิตและตลาดรองรับสำคัญ” ซึ่งประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดจันทบุรี หการค้าจังหวัดระยอง หอการค้าจังหวัดตราด หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดสุรำษฏร์ธำนี หอการค้าจังหวัดชุมพร และหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราชกับผู้ค้ำประเทศจีน และกัมพูชา โดยมีเจตนารมณ์ความร่วมมือ ดังนี้
  1. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพผลไม้ไทย เพื่อใช้ในการตกลงซื้อขายที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เช่น Thai GAP และ Q-GAP
  2. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายผู้ผลิต นำไปสู่การยกระดับศักยภาพของเครือข่าย และคุณภาพ และสาตรฐานสินค้าผลไม้ไทย
  3. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายตลาดรวบรวมสินค้าผลไม้ไทย เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงในการกระจายสินค้ำทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก
  4. ประสานงานเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการรวบรวมการขนส่ง และการกระจายสินค้ำทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก
  5. ส่งเสริมการส้รางช่องทางการตลาดในรูปแบบต่ำงๆ ที่ความหลากหลายให้กับผลไม้ไทย
ทั้งนี้ หากการประสานความร่วมมือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ จะสามารถยกระดับผลไม้ไทยให้ได้คุณภาพมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค รวมทั้งสร้างรายได้ให้เกษตรกรที่สูงขึ้นยกตัวอย่างเช่นในปี 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตทุเรียนออกมาประมาณ 9.1 แสนตัน และจะผลักดันให้ผลผลิตจำนวน 1% หรือ 9,100 ตัน ยกระดับเป็นทุเรียนเกรดพรีเมียม และมีการพัฒนาแบรนด์ โดยทุเรียนแต่ละลูกจะต้องมีขนาด มีมาตรฐาน ผ่านการคัดเกรดและการรับรองคุณภาพ เพื่อทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ ถ้าขายแบบลูกจะมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 พันล้านบาทแต่หากนำมาพัฒนาใส่บรรจุภัณฑ์จะสร้างมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอีก 1 เท่า ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างและยกระดับประเทศไทยสู่มหาอำนาจด้านผลไม้เมืองร้อนของโลก ตามแนวทางที่กล่าวมาแล้วข้างต้นและมีความตั้งใจจะนำความร่วมมือนี้ ขยายผลไปพัฒนาในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคธุรกิจผลไม้ไทย เกษตรกรสามารถพึ่งพําตนเองได้นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป
 
            
 
            


 ภาพประกอบ