![790x442.jpg](https://webdata.thaichamber.org/public/upload/images/news/790x442.jpg)
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมหารือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับสินค้าและบริการ
วันที่เผยแพร่ 26 ก.ค. 2561
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการฯ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมหารือความร่วมมือกับ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะผู้บริหาร ในด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการยกระดับสินค้าและบริการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ ดังนี้
- โครงการด้าน bioeconomy สามารถทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยได้ โดยเฉพาะกับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Sci Park) นอกจากนี้ยังมี FoodInnopolis ที่เป็น platform สำหรับการทำงานร่วมกับเอกชนได้ในด้านอาหาร
- เรื่อง monochrono-technology ของสยามไบโอซายน์ ขอให้เดินหน้าไปก่อน เนื่องจากยังไม่มีประเด็นชัดเจนในทำงานร่วมกัน
- ควรเน้นเรื่องสมุนไพรและเวชสำอางค์ เนื่องจากหลายโครงการพร้อมต่อยอด โดยอาจจะจัดลำดับว่าโจทย์ไหนเพิ่มเงินอีกนิดก็สามารถไปได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่อง Plant Factory ที่มีตัวอย่างกับอบต และจังหวัดนครพนม สามารถศึกษาร่วมกันได้กับสวทช.
- ในส่วนของเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอดของวว. จะได้แก่ Pre-harvest & Post-harvest technology BioPlastic และแมลงวันทอง
- อยากให้ YEC ลองพิจารณาเรื่องธุรกิจเครื่องกลเกษตรขนาดเล็กกับม.ราชมงคลและม.ราชภัฏ ด้วย
- โจทย์การท่องเที่ยว โดยเฉพาะจังหวัดริมโขง หากเป็นในเรื่อง Digital Technology ขอให้ติดต่อกระทรวงดีอี ในส่วนของการคิด concept ขอให้ทำงานร่วมกับ TCDC ทั้งนี้มีตัวอย่างที่ดีเช่น จังหวัดเพชรบุรีที่ทำงานร่วมกับม.ศิลปากร กลุ่มจังหวัดภาตใต้ที่จะเป็นริเวียร่าอาจจะลองพิจารณาดูว่าจะเดินอย่างไร
- ขอให้ NIA ทำงานร่วมกับ YEC ในการพัฒนา local Startup ต่อยอดกับโครงการไทยเท่ ที่ผ่านมา NIA ได้ทำแล้ว แต่อยากให้มีโครงการต่อเนื่อง
- บางสินค้า OTOP ที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการ Packaging Technology นั้นวว.อาจช่วยได้ และให้ TCDC ช่วยเรื่องการออกแบบ
- เรื่องสุขภาพและสมุนไพร ขอให้ list รายชื่อเอกชนโดยแบ่งตามระดับ tier ของความสามารถ
- ปัญหาเรื่องการขออย.อาจจะต้องหารือกับรมต.สาธารณสุข
- การปรับปรุง yield ในการปลูก อาจใช้ Plant Factory แก้ปัญหาได้หรือไม่
- ตอนนี้มี 13-14 herbal city จะร่วมผลักดันกันอย่างไร (ก.ท่องเที่ยว?)
- เรื่องของ Green Extraction และ Nano-Encapsulation สามารถทำร่วมกับสวทช.ได้
- ประเด็น Telemedicine เน้นเรื่อง IOT ขอให้ทำงานร่วมกับ NECTEC
- ปัญหาเรื่องการพัฒนาความสามารถแรงงานในระดับอาชีวะ ให้ใช้ม.ราชมงคลเป็นตัวเสริม ในกระทรวงวิทย์ฯ มีโครงการ STEM Academy เพื่อการพัฒนาอาชีพให้กับแรงงาน ซึ่งมีทั้งระบบออนไลน์และแบบอบรมต่อตัว
- สรุปการมอบหมายงานในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่อง Bioeconomy ขอมอบให้สวทช. (biotec สท.) วว. , เรื่อง Local economy development เน้น theme ไทยเท่ โดยมองทั้งการท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัฒฑ์ ขอมอบให้ NIA สท. วว. , เรื่องสุขภาพและการแพทย์ เรื่อง IOT & Sensor ขอมอบให้ nectec เรื่องสมุนไพร ขอให้ nanotec และ biotec เรื่อง telemedicine ขอให้ติดต่อก.สาธารณสุขโดยตรง , เรื่องการสร้างบุคลากร โดยเฉพาะเรื่อง STEM ขอมอบให้สวทช. และอาจจะเชื่อมกับของอ.มีชัย , เรื่อง Circular Economy ขอให้คิดใหญ่ขึ้น จะมี business model อย่างไร เนื่องจากมีโอกาสเติบโตสูง , YEC ขอให้ทำงานร่วมกับ RSP และ FoodInnopolis ต่อไปเมื่อเป็นกระทรวงฯเดียวกันจะคล่องตัวมากขึ้น
- ผู้ประกอบการของสภาหอฯควรเน้นการสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัย โดยใช้พลังของศูนย์วิจัยกระทรวงฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัย
- ในอนาคตกระทรวงใหม่จะสามารถทำงานร่วมกับเอกชนที่ครอบคลุมโจทย์กว้างขึ้นเนื่องจากจะมีทั้งมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยอยู่ร่วมกัน
- นัดประชุมอีกคร้ังในเดือนกันยายน
- ในอนาคตจะมีเงินจากกองทุน TED Fund เพื่อนำมาใช้ตอบโจทย์วิจัยด้าน Bioeconomy มากขึ้น รวท.ขอให้มาทำงานร่วมกัน
![](/public/upload/article/images/_180725_0025.jpg)
![](/public/upload/article/images/_180725_0011.jpg)
![](/public/upload/article/images/_180725_0026.jpg)
ทางด้าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า โครงการที่หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเสนอทั้งหมด สามารถทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยได้ โดยเฉพาะในอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) โดยเฉพาะ FoodInnoolis จะเป็น platform สำหรับการทำงานร่วมกับเอกชนได้ และการ YEC สามารถทำงานร่วมกับ สนช. ในการพัฒนา local Startup ต่อยอดกับโครงการไทยเท่ ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มดำเนินการแล้ว ให้ทำเป็นโครงการต่อเนื่อง ส่วนการพัฒนาความสามารถแรงงานในระดับอาชีวศึกษา ให้มหาวิทยาลัยราชมงคลสนับสนุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในโครงการ STEM Academy เพื่อการพัฒนาอาชีพให้กับแรงงาน ซึ่งมีทั้งระบบออนไลน์และแบบอบรมต่อตัว
ทั้งนี้ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในอนาคตกระทรวงใหม่จะสามารถทำงานร่วมกับเอกชนที่ครอบคลุมโจทย์กว้างขึ้น โดยสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัย ซึ่งมาจากพลังของศูนย์วิจัยกระทรวงฯ ที่ร่วมกับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) จะนำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ Bioeconomy มากขึ้น จึงอยากให้ทางหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมาร่วมงานกัน
ภาพ : ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี