ข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact
ข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact
วันที่เผยแพร่ 25 ก.พ. 2563
ข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact :

เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) วัตถุประสงค์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ช่วยให้ภาครัฐมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพโดยข้อตกลงคุณธรรม สามารถปรับใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างในหลายประเภท

องค์ประกอบของข้อตกลงคุณธรรม
  1. หน่วยงานภาครัฐ (Government Agency) : เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติต่อผู้เสนอราคาอย่างเท่าเทียม และกำหนดให้ IP เป็นส่วนหนึ่งของ TOR
  2. ผู้เข้าร่วมเสนอราคา (Supplier) : ไม่ให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ปฏิบัติอย่างความโปร่งใสและเป็นธรรม และยินยอมให้ IP เข้าร่วมในทุกขั้นตอน
  3. ผู้สังเกตการณ์  (Observer) : เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อ วางตัวเป็นกลาง มีสิทธิขอข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
การคัดเลือกโครงการตามข้อตกลงคุณธรรม
หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ
  • โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงาน
  • โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีมูลค่าสูง
  • โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนหรือเป็นที่สนใจของประชาชน
  • เป็นโครงการที่ยังไม่ได้กำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR)หรืออยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR)
  • ผู้สังเกตการณ์ : Observer
ผู้สังเกตการณ์

เป็นบุคคลภายนอกจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ โดยได้รับการคัดเลือกจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งผู้สังเกตการณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นั้นๆ โดยจะต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ

คุณสมบัติของผู้สังเกตการณ์ Observer
  1. มีคุณวุฒิ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เหมาะสม
  2. มีความเป็นอิสระ ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก วุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  3. มีสัญชาติไทย และไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ Observer
  • การสรรหา โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ จากสมาคมวิชาชีพ หอการค้าไทย        สภาอุตสาหกรรม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคประชาสังคม
  • เปิดรับสมัครเป็นการทั่วไป โดยการเชิญชวนไปยังหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ
แนวทางการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์
  • ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการ
  • ศึกษาข้อมูลรายละเอียดโครงการ เช่น ขอบเขตงานโครงการ (TOR) เอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • เข้าสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างรายงานผลการสังเกตการณ์